02-279-9935

@prasarnmitr

คลินิก

คลินิกตรวจสุขภาพประจำปี

( Health Check Up Clinic )

คลินิกตรวจสุขภาพโรงพยาบาลประสานมิตร ให้บริการตรวจสุขภาพ ผู้รับบริการสามารถเข้ารับบริการได้ทั้งในวันราชการและวันหยุด โดยมีโปรแกรมการตรวจสุขภาพที่ผู้รับบริการสามารถเลือกได้ตามความต้องการและตามคำแนะนำของแพทย์ ผู้รับบริการสามารถเลือกใช้โปรแกรมการตรวจตามมาตรฐานของกรมบัญชีกลางเป็นโปรแกรม 1 ( สำหรับผู้มีอายุต่ำกว่า 35 ปี ) หรือโปรแกรม 2 ( สำหรับผู้มีอายุมากกว่า 35 ปี ) ซึ่งเป็นโปรแกรมการตรวจสุขภาพที่สามารถเบิกได้ตามสิทธิ์กรมบัญชีกลาง หรือสามารถตรวจเพิ่มได้ตามความต้องการของผู้รับบริการหรือตามคำแนะนำของพทย์โดยมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในราคาของโรงพยาบาลรัฐบาล นอกจากนี้คลินิกตรวจสุขภาพประจำปี โรงพยาบาลประสานมิตรยังมีโปรแกรมเพื่อการคัดกรองกลุ่มโรคที่สำคัญ เช่น โปรแกรมการคัดกรองมะเร็ง โปรแกรมตรวจสุขภาพแบบไม่งดน้ำและไม่งดอาหาร โปรแกรมตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน เป็นต้น

รศ. นพ. ศุภชัย ถนอมทรัพย์

แพทย์ ระบบหัวใจ และหลอดเลือด

ความชำนาญการ

  • โรคหัวใจและหลอดเลือด อายุรกรรมทั่วไป

ภาษา

  • อังกฤษ, ไทย

คุณวุฒิ

  • แพทยศาสตร์บัณฑิต รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

วุฒิบัตร

  • Internal Medicine, Christ Hospital and Medical Center Oak Lawn, Illinois, USA
  • Clinical Fellow in Cardiology, University of Alberta, Edmonton, Alberta, Canada
  • Fellow, American College of cardiology – FACC – Fellow, Society of Cardiac Angiography & Intervention – FSCAI – Fellow, Society of Geriatric Cardiology – FSGC
  • Fellow, Royal College of Physicians of Canada – FRCPC
  • Fellow, Royal College of Physicians of Thailand – FREPT
  • Diplomate, American Board of Internal Medicine and Cardiovascular Disease

ประสบการณ์ในการทำงาน

  • หัวหน้าภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา กองการศึกษา วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
  • ผู้อำนวยการกองโสต ศอ นาสิกกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
  • ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
  • ผู้บัญชาการโรงเรียนเสนารักษ์
  • เจ้ากรมแพทย์ทหารบก
วัน เวลา คลินิก
จันทร์ 9:00-12:00 คลินิกโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
อังคาร 9:00-12:00 คลินิกโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
พุธ 9:00-16:00 คลินิกโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
พฤหัสบดี 9:00-12:00 คลินิกโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด

โปรแกรม 1

สำหรับผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปี

เป็นช่วงอายุของคนหนุ่มสาวที่กำลังทำงาน การที่สุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์เป็นสิ่งที่จำเป็น โปรแกรม 1 จะบอกให้ทราบถึงการทำงานของระบบสำคัญของร่างกาย กรณีพบความผิดปกติแล้วรีบแก้ไข ป้องกันตั้งแต่แรกเริ่ม ท่านจะมีสุขภาพดีตลอดไป

1. ตรวจร่างกายโดยแพทย์ (Physical Examination)
2. ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (Blood Sugar)
3. ตรวจระดับไขมันในเลือด (Lipid Profile)
4. ตรวจภาวะเสี่ยงโรคเก๊าท์ (Uric Acid)
5. ตรวจการทำงานของตับ (SGPT;ALT)
6. ตรวจการทำงานของไต (Creatinine)
7 .ตรวจความสมบูณ์ของเลือด (CBC) ‘
8. ตรวจปัสสาวะ (Urine Examination)
9. กามโรค (VDRL)
10. เอกซเรย์ปอด และหัวใจ (Chest X-Ray)

ราคา 1,165 บาท

โปรแกรม 2

สำหรับผู้ที่มีอายุ 30 - 45 ปี

ช่วงอายุ 30 – 45 ปี เป็นเวลาที่ท่านกำลังสร้างตัว สร้างครอบครัว หลายท่านต้องทำงานหนักทั้งร่างกาย และจิตใจ พักผ่อน และออกกำลังกายไม่เพียงพอท่านอาจพบความผิดปกติ เช่น อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ น้ำหนักลด ตรวจร่างกาย เพื่อค้นหาความผิดปกติ รีบแก้ไขป้องกันตั้งแต่แรกเริ่ม ท่านจะมีสุขภาพดีตลอดไป

1. ตรวจร่างกายโดยแพทย์ (Physical Examination)
2. ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (Blood Sugar)
3. ตรวจระดับไขมันในเลือด (Lipid Profile)
4. ตรวจภาวะเสี่ยงโรคเก๊าท์ (Uric Acid)
5. ตรวจการทำงานของตับ (SGOT;SGPT)
6. ตรวจการทำงานของไต (BUN,Creatinine)
7 . ตรวจความสมบูรณ์ของเลือด (CBC)
8. ตรวจปัสสาวะ (Urine Examination)
9. ตรวจอุจจาระ (Stool Examination)
10 .เอกซเรย์ปอด และหัวใจ (Chest X-Ray)
11. ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (E.K.G)

ราคา 1,165 บาท

โปรแกรม 3

สำหรับผู้ที่มีอายุ 30 - 45 ปี

ช่วงเวลาของการทำงานหนัก-การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่ายกายมีมากขึ้น โอกาสที่จะมีโรคประจำตัวสูง การดูแลสุขภาพในช่วงอายุนี้จำเป็นจะช่วยให้ท่านมีสุขภาพที่แข็งแรงไม่เจ็บป่วยเรื้อรัง หรือรุนแรง

1. ตรวจร่างกายโดยแพทย์ (Physical Examination)
2. ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (Blood Sugar)
3. ตรวจระดับไขมันในเลือด
(Cholesterol,Triglyceride,HDL,LDL)
4. ตรวจภาวะเสี่ยงโรคเก๊าท์ (Uric Acid)
5. ตรวจการทำงานของตับ (SGOT;SGPT,Alk-
phophatase,Total Protein,Albumin,Globurin,
Total bilirubin,Direct bilirubin))
6.ตรวจการทำงานของไต (BUN,Creatinine)
7. ตรวจความสมบูรณ์ของเลือด (CBC)
8. ตรวจปัสสาวะ (Urine Examination)
9. ตรวจอุจจาระ (Stool Examination)
10 .เอกซเรย์ปอด และหัวใจ (Chest X-Ray)
11. ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (E.K.G)

ราคา 1,165 บาท

การเตรียมตัวก่อนรับการตรวจสุขภาพ

  1. งดอาหารก่อนเข้ารับการตรวจ 8-10 ชั่วโมง
  2. งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ก่อนเข้ารับการตรวจอย่างน้อย 72 ชั่วโมง
  3. ก่อนตรวจสุขภาพควรพักผ่อนให้เพียงพอสตรีอยู่ในช่วงมีประจำเดือน กรุณาแจ้งเจ้าหน้าที่
  4. การตรวจอุจจาระ 3 วัน ก่อนตรวจควรงดอาหารที่มีเลือดสัตว์ เนื้อแดง วิตามินซี ยาแอสไพรินและกลุ่มยาแก้ปวดที่ไม่ใช่ สเตอร์วอยด์
  5. การเก็บปัสสาวะให้ปัสสาวะทิ้งช่วงแวกก่อน แล้วเก็บช่วงกลางของปัสสาวะประมาณครึ่งกล่อง
  6. การเก็บอุจจาระ(ไม่ให้มีปัสสาวะปนเปื้อน) ประมาณปลายนิ้วก้อย
  7. การเอกซเรย์ปอด งดใส่เครื่องประดับที่เป็นโลหะสุภาพสตรีไม่ใส่ชุดชั้นในที่เป็นโครงเหล็ก ไม่ควรเอกซเรย์หากไม่แน่ใจว่าตั้งครรภ์

คำแนะนำ

  1. เมื่อเจาะเลือดเสร็จควรกดบริเวณที่เจาะไว้อย่างน้อย 2-5 นาที
  2. ไม่ควรคลึงหรือนวดบริเวณที่เจาะเลือด กรณีที่มีรอยซ้ำเขียวบริเวณ ที่เจาะเลือด รอยซ้ำดังกล่าวจะหายภายใน 1-2 สัปดาห์
  3. อาจทายาแก้ฟกช้ำได้ เช่น ฮีรูดอยด์ แต่ไม่ควรนวดคลึงบริเวณ ดังกล่าว

ประโยชน์ของการตรวจสุขภาพประจำปี

  1. การตรวจร่างกายโดยแพทย์เพื่อประเมินสภาพการทำงานของระบบต่างๆ ของร่างกาทั่วไป
  2. การตรวจเอกซเรย์ทรวงอกเป็นการตรวจหาพยาธิสภาพของปอดหัวใจ เช่น โรคถุงลมโป่งพอง
    มะเร็งปอด,โรคหัวใจโต การเกิดเชื้อในปอด เช่น วัณโรคปอด
  3. การตรวจ CBC เป็นการตรวจหาความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดบอกถึงปริมาณของเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกร็ดเลือดและลักษณะของเม็ดเลือดที่ผิดปกติ ช่วยในการวินิจฉัยโรคเบื้องต้น
  4. การตรวจ Urine เป็นการตรวจคุณลักษณะของปัสสาวะมีปริมาณสารชนิดต่างๆ ในปัสสาวะมากน้อยปกติหรือไม่ รวมทั้งโรคติดเชื้อที่เกิดขึ้นในขณะนั้น
  5. การตรวจ Stool เป็นการตรวจหาพยาธิสภาพของระบบทางเดินอาหารเช่น มีเลือดออกในระบบ ตรวจหา
  6. การตรวจหาค่า Glucose เป็นการตรวจหาค่าน้ำตาลในเลือดหลังงดอาหาร 8 ชั่วโมง ในการวินิจฉัยโรคเบาหวาน
  7. การตรวจCholestero เป็นการตรวจหาค่าไขมันในเลือดชนิดหนึ่ง เป็นสาเหตุของการอุดตันและแข็งตัวของเส้นเลือดแดง ทำให้เกิดพยาธิสภาพของสมอง ไต
  8. การตรวจ Triglyceride เป็นการตรวจหาค่าไขมันในเลือด ชนิดเป็นสาเหตุของการเกิดเส้นเลือดแดงแข็ง จะทำให้เกิดพยาธิสภาพในร่างกายได้
  9. การตรวจ BUN,Creatinine เป็นการตรวจหาพยาธิสภาพของไต เช่น ไตวาย
  10. การตรวจ SGOT,SGPT,Alkaline Phosphataseบอกได้ถึงภาวะของตับว่ามีพยาธิสภาพหรือไม่ เช่นมีการทำลายของเซลล์ของตับ กรณีการติดเชื้อไวรัล
  11. การตรวจ Uric Acid ใช้ในการประเมินสมรรถภาพของตว่าปกติหรือไม่ กำลังจะเป็นโรค Gout หรือไม่ มีการทำลายของเซลล์ของตับ กรณีติดเชื้อไววัส